ผ้ากันไฟ ผนังกันไฟ คืออะไร? มีกี่ประเภท ทำไมถึงสำคัญผนังกันไฟ หรือ ผนังทนไฟ สำหรับงานก่อสร้างถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจากเพลิงไหม้ ผนังกันไฟนี้จะเป็นตัวช่วยชะลอและป้องกันการแพร่กระจายของไฟได้ดี ดังนั้นการสร้างโรงงาน หรือ อาคารทุกประเภท จึงจำเป็นต้องมีผนังกันไฟบริเวณบันไดหนีไฟและตามจุดสำคัญต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อความปลอดภัย
ถ้าหากคุณกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับผนังกันไฟ ในวันนี้ได้รวบรวมข้อมูลมาไว้ในบทความนี้แล้ว รับรองว่ารายละเอียดต่างๆ จะเป็นตัวช่วยให้คุณเลือกใช้ผนังกันไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน
ผนังกันไฟ คืออะไร?
ความหมายของคำว่า ผนังกันไฟ คือ โครงสร้างที่ใช้สำหรับสิ่งปลูกสร้างจำพวกโรงงานอุตสาหกรรม หรือ ตามบันไดหนีไฟในอาคารต่างๆ ผนังกันไฟถูกออกแบบมาเพื่อชะลอการแพร่กระจายของความร้อนที่เกิดขึ้นจากเปลวไฟในกรณีฉุกเฉิน หากผนังกันไฟที่ใช้ได้มาตรฐานก็จะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
โดยส่วนประกอบหลักๆ ของผนังกันไฟ คือ อิฐที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 18 เซนติเมตร และไม่มีรูหรือช่องที่ทำให้ควันไฟสามารถลอดผ่านได้ โดยวัสดุที่สามารถใช้ได้นอกเหนือจากอิฐแล้ว ยังมีผนังทึบแสงที่ทำจากวัสดุทนความร้อน ซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันไฟได้ดีเท่ากับผนังที่ก่อด้วยอิฐธรรมดา ถ้าหากเป็นผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก ต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า 12 เซนติเมตร และมีอัตราทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที
รู้หรือไม่!? การใช้ผนังกันไฟมีการบังคับใช้ตามกฎหมายด้วย! ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ระบุว่า
“ผนังของตึกแถว หรือ บ้านแถว ไม่ว่าจะสูงกี่ชั้นก็ตาม ต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ หมายความว่า ต้องก่อด้วยอิฐธรรมดาหรือคอนกรีตเสริมเหล็กหนาไม่น้อยกว่า 8 เซนติเมตร นอกจากนั้นทุกๆ 5 คูหาของตึกแถวหรือบ้านแถวจะต้องเป็นผนังกันไฟ ต่อเนื่องจากระดับพื้นดินถึงระดับดาดฟ้า กรณีที่เป็นหลังคา ที่สร้างด้วยวัสดุไม่กันไฟ ต้องมีผนังกันไฟสูงเหนือหลังคาไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร”
ดังนั้นสิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัย หรือ อาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ก็จำเป็นต้องมีผนังกันไฟตามกฎหมายเพื่อความถูกต้อง และ ความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยเช่นเดียวกัน
ทำไมถึงต้องมีผนังกันไฟ?
ความสำคัญของผนังกันไฟสำหรับสิ่งปลูกสร้างเชิงพาณิชย์ หรืออาคารที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมี เนื่องจากอุบัติเหตุเพลิงไหม้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และ อาคารเหล่านี้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่สามารถเกิดเหตุได้ง่ายที่สุด เพราะในอาคารอาจมีวัสดุไวไฟที่อาจทำให้เชื้อเพลิงสามารถลุกลามอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นผนังกันไฟจึงถือเป็นโครงสร้างสำคัญที่ต้องมีในสิ่งปลูกสร้าง เพื่อชะลอการแพร่กระจายของเพลิงไฟ และช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพย์สิน การเลือกใช้ผนังกันไฟควรเลือกจากระดับความหนา ยิ่งมีความหนามากเท่าไหร่ก็ยิ่งสามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจายได้ดี
โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม ห้องคลีนรูม รวมถึงพื้นที่ส่วนต่างๆ ของอาคาร ในพื้นที่ลักษณะนี้มักจะนิยมใช้ฉนวนกันไฟที่เรียกว่า “PIR (Polyisocyanurate foam)” ซึ่งมีคุณสมบัติที่เด่นชัดกว่าฉนวนกันไฟประเภทอื่น คือ มีน้ำหนักเบา สามารถทนความร้อนและไม่ติดไฟ โดยสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 400 องศา ที่สำคัญโฟมชนิดนี้ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพราะเมื่อเกิดการเผาไหม้ฉนวนชนิดนี้จะเกิดเป็นผิวดำเกรียม ช่วยป้องกันไม่ให้ก๊าซออกซิเจนสัมผัสเนื้อโฟมที่อยู่ด้านใน จึงทำให้เกิดควันไฟได้น้อยกว่าฉนวนประเภทอื่นๆ
วัสดุที่กันไฟและเป็นฉนวนกันความร้อน มีกี่แบบ แบบไหนใช้เป็นผนังกันไฟ?
เมื่อพูดถึงความสำคัญของผนังกันไฟกันไปแล้ว จะเห็นได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากสำหรับสิ่งปลูกสร้าง ในหัวข้อนี้ทาง V.K.B จะพาทุกคนไปรู้จักประเภทของวัสดุที่ใช้กันไฟ และ เป็นฉนวนกันความร้อนที่นอกเหนือจากผนังก่ออิฐแบบทั่วไป แล้ววัสดุประเภทไหนจะทนความร้อนได้ดีที่สุด? ตามไปดูกันเลย!
วัสดุที่กันไฟและเป็นฉนวนกันความร้อน มีกี่แบบ แบบไหนใช้เป็นผนังกันไฟ?
1. ฉนวนอลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) ฉนวนอลูมิเนียมฟอยล์ เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่น มีพื้นผิวเรียบ และมีความเหนียว จึงทำให้คงทนไม่ฉีกขาดง่าย มีค่าแผ่รังสีความร้อนของผิวอลูมิเนียมต่ำ และมีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนได้ดี ซึ่งหากเลือกใช้วัสดุอลูมิเนียมฟอยล์บริสุทธิ์ทั้ง 2 ด้าน จะสามารถสะท้อนความร้อนได้สูงถึง 95-97%
ถึงแม้ว่าฉนวนอลูมิเนียมฟอยล์จะสะท้อนความร้อน แต่ไม่ได้ช่วยป้องกันความร้อนที่เข้าสู่ภายในบ้าน ดังนั้นฉนวนชนิดนี้จึงมักจะถูกติดตั้งบริเวณของโครงหลังคา และควรใช้งานร่วมกับฉนวนประเภทอื่นๆ เพื่อเสริมคุณสมบัติกันความร้อน ในปัจจุบันมีฉนวนให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบ แต่สำหรับบ้านพักอาศัยมักจะนิยมใช้ฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูปแบบแผ่นหรือแบบม้วน
ข้อดี คือ
มีค่าการแผ่รังสีความร้อน (Emissivity) ของผิวอลูมิเนียมต่ำ
ประสิทธิภาพในการสะท้อนความร้อนสูงสุด 97%
มีค่าความเหนียว จึงทำให้แข็งแรง คงทน
เป็นฉนวนกันความร้อนที่ไม่มีสารระคายเคืองต่อมนุษย์
ทนทานต่อความชื้นได้ดี
ราคาประหยัด หาซื้อง่าย
ข้อเสีย คือ
ขาดคุณสมบัติในการป้องกันเสียง
ไม่สามารถป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้
2. ฉนวนใยเซลลูโลส (Cellulose) ฉนวนป้องกันความร้อนใยเซลลูโลส เป็นวัสดุจากกระบวนการรีไซเคิลผสมเคมี ด้วยการนำเยื่อไม้หรือเยื่อกระดาษที่ใช้แล้วมาย่อยจนละเอียด และประสานเข้ากับบอแร็กซ์ เพื่อช่วยให้เกิดการยึดติด ซึ่งวัสดุชนิดนี้มีให้เลือก 3 รูปแบบ ได้แก่ ลักษณะแบบเส้นใยอัดเป็นแผ่น แบบคลุม และแบบฉีดพ่น
ในปัจจุบันบางยี่ห้อมีการประยุกต์ให้สามารถป้องกันการลุกลามของไฟได้ หรือเมื่อโดนไฟไหม้จะมีควันและดับลงไปเอง ด้วยการใส่สารเคมีที่ช่วยป้องกันการลามของไฟลงไปในเยื่อกระดาษ แต่ในกรณีนี้ต้องผ่านการผสมด้วยองค์ประกอบที่ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งลักษณะของฉนวนใยเซลลูโลสแบบแผ่นจะถูกติดบนแผ่นยิปซัม เพื่อความสะดวกต่อการนำไปใช้งาน โดยทั่วไปแล้วฉนวนใยเซลลูโลสจะถูกนำมาประยุกต์ใช้งานผนังห้อง ผนังของอาคาร รวมถึงใต้หลังคาของอาคาร เป็นต้น
ข้อดี คือ
มีคุณสมบัติกันความร้อนได้ดี
สามารถลดการก้องหรือสะท้อนของเสียงได้
เป็นฉนวนกันความร้อนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (รีไซเคิล)
ไม่เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
ข้อเสีย คือ
มีโอกาสยุบตัว เพราะเป็นฉนวนรูปแบบพ่น การควบคุมความหนาแน่นอาจไม่ได้ตามมาตรฐาน
ไม่ทนต่อน้ำและความชื้นในอากาศ
มีโอกาสหลุดล่อนได้
เป็นเส้นใยธรรมชาติ สามารถติดไฟได้
3. ฉนวนโพลียูริเทน (Polyurethane) วัสดุกันไฟโพลียูริเทน หรือ PU Foam เป็นเทคโนโลยีการฉีดโฟมเพื่อป้องกันความร้อน ฉนวนชนิดนี้มีความหนาแน่น และมีเนื้อละเอียด ภายในมีช่องอากาศเป็นโพรงจำนวนมาก (Air Gap) จึงสามารถแนบไปกับแผ่นใต้หลังคาได้เป็นอย่างดี
ฉนวนโพลียูริเทนมี 2 รูปแบบ คือ แบบสำเร็จรูปที่มาพร้อมกับแผ่นหลังคา กับ แบบโฟมสำหรับฉีดพ่น มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนดีที่สุด หากเทียบกับฉนวนประเภทอื่นๆ และเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีปัญหาเรื่องระบายความร้อน ถ้าหากต้องการสร้างผนังกันไฟด้วยฉนวนโพลียูริเทน มีผนังสำเร็จรูปที่ทำจากฉนวนชนิดนี้ คือ แผ่นฉนวน Sandwich Panel PU Foam หรือที่เรียกว่า แผ่นผนังสำเร็จรูปโฟมเหลือง
ข้อดี คือ
ป้องกันความร้อนได้ดีที่สุด หากเทียบกับฉนวนประเภทอื่นๆ
ป้องกันการรั่วซึมความชื้น และป้องกันสนิมได้เป็นอย่างดี
มีเนื้อที่ละเอียด สามารถแนบไปกับแผ่นใต้หลังคาได้เป็นอย่างดี
มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงรบกวน รองรับน้ำหนักได้ดี
สามารถหุ้มผนังห้องเย็นได้ทุกด้าน
ใช้ได้กับหลังคาทุกประเภท เช่น กระเบื้อง สังกะสี อลูมิเนียม คอนกรีต และ เหล็ก
ฉนวนโพลียูริเทนแบบโฟมสำหรับฉีดพ่น สามารถนำไปฉีดพ่นไว้บริเวณใต้หลังคาเก่าได้
ข้อเสีย คือ
หากเกิดเหตุไฟไหม้สามารถติดไฟได้ แต่ไม่เกิดการลุกลามของไฟ
เมื่อไฟไหม้มีโอกาสเกิดควันพิษ สามารถเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
หากโดนอุณหภูมิร้อนจัดอาจทำให้เปลี่ยนสภาพ
หากช่างที่ฉีดพ่นขาดความชำนาญ ฉนวนสามารถฟุ้งกระจายได้
4. ฉนวนแคลเซียมซิลิเกต (Calcium Silicate) ฉนวนชนิดนี้มีลักษณะเป็นผงอัดเป็นแผ่นสำเร็จ วัสดุด้านในประกอบไปด้วย ทราย ซิลิเซียส น้ำปูนขาว และเส้นใยเพื่อเพิ่มการเสริมแรง ไม่มีส่วนผสมของใยหิน (Asbestos) จึงไม่ทำให้เกิดสารพิษ
ฉนวนแคลเซียมซิลิเกตมีทั้งแบบเป็นใยแร่ และ เส้นใยสังเคราะห์ มีความสามารถในการปรับค่าอุณหภูมิได้อย่างรวดเร็วตามสภาพอากาศ และมีคุณสมบัติในการต้านทานความร้อน และทนไฟ สามารถทาสีทับได้ ลักษณะของฉนวนแคลเซียมซิลิเกตมีทั้งรูปแบบ บล็อก ท่อ และแผ่น หากต้องการนำมาใช้งานสำหรับการติดตั้งเป็นผนัง สามารถเลือกแผ่นสำเร็จรูปแคลเซียมซิลิเกตบอร์ด โดยส่วนใหญ่นิยมนำไปใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรม
ข้อดี คือ
มีคุณสมบัติต้านทานความร้อน และทนไฟ
ไม่มีส่วนผสมของใยหิน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สามารถดูดซับเสียงได้ดี
มีความหนาแน่นสูง รับแรงกระแทกได้ดี
สามารถตัดต่อ และทาสีทับได้
ข้อเสีย คือ
มีการดูดซึมน้ำสูง
ไอน้ำสามารถแทรกซึมได้ง่าย
มีน้ำหนักมาก
5. ฉนวนใยแก้ว (Microfiber) ฉนวนใยแก้วทํามาจากวัสดุที่เป็นแก้ว หรือ เศษแก้ว แล้วนํามาหลอมเป็นเป็นเส้นใยไฟเบอร์ละเอียดขนาดเล็ก มีโครงสร้างเป็นรูพรุน จึงสามารถช่วยระบายความร้อนที่ผ่านเข้าสู่ตัวอาคารได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ความสามารถของตัวแผ่นฟอยล์ด้านล่าง ยังช่วยกั้นไม่ให้ความร้อนด้านในฉนวนออกมาสู่ภายนอก หากต้องการใช้งานฉนวนใยแก้วแบบผนังจะอยู่ในรูปแบบของผนังสำเร็จรูปไมโครไฟเบอร์ มีคุณสมบัติป้องกันเสียงรบกวน มีน้ำหนักเบา และทนทานต่อแรงดึงได้ดี เมื่อถูกกดทับสามารถคืนตัวได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญสามารถป้องกันความชื้น ไม่ลามไฟ และหากนำมาใช้งานจะช่วยเพิ่มความสว่างให้กับตัวอาคารได้
ข้อดี
มีคุณสมบัติการนำความร้อนต่ำ จึงช่วยลดปริมาณความร้อนที่จะผ่านเข้าสู่ตัวอาคาร
สามารถดูดซับเสียงได้ดี
มีความยืดหยุ่นสูง เมื่อถูกกดทับจะสามารถคืนตัวได้เร็ว
มีน้ำหนักเบา ทนทาน ไม่เสื่อมสภาพ
ป้องกันแมลง หรือเชื้อราได้ดี
ข้อเสีย
ไม่มีคุณสมบัติกันลามไฟ
เส้นใยก่อให้เกิดการระคายเคือง
ไม่เหมาะกับการใช้งานในที่เปิดโล่ง
เมื่อวัสดุเสื่อมสภาพ มีโอกาสเกิดละอองขนาดเล็ก เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ตัวเชื่อมประสาน (binder) สามารถติดไฟ และอาจลุกไหม้ได้
อัตราการแทรกซึมของไอน้ำสูง จึงควรมีวัสดุหุ้มกันไอน้ำ
หลังจากที่ได้ทำความรู้จักประเภท และ คุณสมบัติของผนังกันไฟกันไปแล้ว ทำให้เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างมากสำหรับอาคารทุกประเภท ปัจจุบันมีฉนวนกันไฟ หรือ ฉนวนทนความร้อนถูกผลิตอยู่ในรูปแบบของผนังสำเร็จรูป ทางเลือกใหม่ของวงการก่อสร้าง โดยส่วนใหญ่จะใช้สำหรับติดตั้งผนังห้องเย็น ห้องสะอาด ห้องไลน์ผลิต และ ห้องเก็บสินค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงที่อยู่อาศัย และ ตึกแถว
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยภายในอาคาร ควรเลือกที่เหมาะสมตามการใช้งาน เพื่อความคุ้มค่าต่อการลงทุน และประสิทธิภาพในระยะยาว