การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก (Bone Mineral Density) ความหนาแน่นของมวลกระดูกของคนเรามักจะน้อยลง กระดูกเปราะบางมากขึ้น ทำให้ความเสี่ยงจะเป็นโรคกระดูกพรุนสูงขึ้น กระดูกหักได้ง่ายแม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บ
การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก
เมื่ออายุมากขึ้น ความหนาแน่นของมวลกระดูกของคนเรามักจะน้อยลง กระดูกเปราะบางมากขึ้น ทำให้ความเสี่ยงจะเป็นโรคกระดูกพรุนสูงขึ้น โดยผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจะมีความเสี่ยงที่จะกระดูกหักได้ง่ายแม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย โรคกระดูกพรุนนับว่าเป็นภัยเงียบ เนื่องจากผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการหรือสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติใด ๆ จนกว่ากระดูกจะหัก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณกระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก และกระดูกสันหลัง ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงจึงควรได้รับการตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูกอยู่เสมอ
การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูกนั้นเหมาะสำหรับ
ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนและผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
ผู้ชายที่อายุ 70 ปีขึ้นไป
ผู้ที่น้ำหนักน้อยกว่า 58 กิโลกรัม
ผู้ที่มีประวัติกระดูกหักในช่วงวัยผู้ใหญ่
ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์
ผู้ที่สมาชิกในครอบครัวสายตรงมีประวัติกระดูกสะโพกหักจากการได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูกนั้นจะตรวจประเมินกระดูกในบริเวณที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคกระดูกพรุนสูง อันได้แก่
กระดูกสันหลังบั้นเอว
กระดูกต้นขา
แขนท่อนปลาย
การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูกจะช่วย
ประเมินว่าผู้ป่วยมีความหนาแน่นมวลกระดูกต่ำหรือไม่ ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์กระดูกหัก
ประเมินอัตราความเสี่ยงที่กระดูกอาจจะหักได้ในอนาคต
ตรวจยืนยันว่าผู้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน
ตรวจสอบว่าการรักษาโรคกระดูกพรุนได้ผลดีหรือไม่
ดูแลสุขภาพ: ใครควรตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.healthyhitech.net/